ทั้งโมเลกุลมีความเสถียรมากที่สุดสนใจเฉพาะวาเลนซ์อิเล็กตรอนของแต่ละอะตอมใช้ได้ดีกับธาตุใน s และ p block
การเขียนโครงสร้างลิวอิสหรือโครงสร้างแบบจุดอิเล็กตรอน
(Lewis’s dot structure) เป็ นวิธีการเขียนเพื่อแสดงวาเลนซ์
อิเล็กตรอนและการสร้างพันธะโควาเลนต์ระหว่างอะตอมใน
โมเลกุล โครงสร้างลิวอิสของอะตอม ใช้จุดแทนวาเลนซ์อิเล็กตรอน
โครงสร้างลิวอิสของโมเลกุล พันธะโควาเลนต์คือการใช้อิเล็กตรอนร่วมกันของสองอะตอม หนึ่งพันธะประกอบด้วยสองอิเล็กตรอน (2 shared electrons) แต่ละพันธะแทนด้วยจุด 2 จุด (:) หรือ หนึ่งเส้น (−)
♦ อิเล็กตรอนที่ใช้ในการสร้างพันธะ เรียกว่า bonding electron
♦ อิเล็กตรอนที่ไม่เกี่ยวข้องกับการสร้างพันธะเรียกว่า non-bonding electron
การเขียนโครงสร้างลิวอิส
1. กําหนดอะตอมกลาง(ต้องการ valence electron หลายตัว) และการ
จัดเรียงอะตอมในโมเลกุล
2. นับจํานวนเวเลนซ์อิเล็กตรอนของทุกอะตอมในโมเลกุล
•ไอออนลบ: เพิ่มจํานวนอิเล็กตรอนเท่ากับจํานวนประจุลบของไอออน
•ไอออนบวก: ลบจํานวนอิเล็กตรอนเท่ากับจํานวนประจุบวกของไอออน
3. เชื่อมอะตอมด้วยพันธะเดี่ยว(ระหว่างอะตอมกลางกับอะตอม
ปลาย) โดยใช้ 2 อิเล็กตรอนในการสร้างพันธะเดี่ยวแต่ละพันธะ
4. เติมวาเลนซ์อิเล็กตรอนให้กับอะตอมปลายให้ครบ8 (ยกเว้น H
เท่ากับ 2)
5. เติมอิเล็กตรอนที่เหลือให้กับอะตอมกลาง (อาจมากกว่า 8)
6. ถ้าจํานวนวาเลนซ์อิเล็กตรอนที่อะตอมกลางไม่ครบ 8 ให้นํา
อิเล็กตรอนที่ไม่ร่วมพันธะ (unshared pair electron) ของอะตอม
รอบๆ มาสร้างพันธะค่หรือพันธะสาม
7. จํานวนวาเลนซ์อิเล็กตรอนรวมต้องเท่ากับที่ได้จากข้อ 1.
กฎออกเตท
อะตอมที่มีวาเลนซ์อิเล็กตรอนครบแปด* (มีการ
จัดเรียงอิเล็กตรอนเหมือนแก๊สเฉื่อยในหมู่8A)จะมีความเสถียร
มาก โดยไม่สําคัญว่าอิเล็กตรอนดังกล่าวจะเป็นของอะตอมเองหรือ
ได้มากจากการใช้อิเล็กตรอนร่วมกับอะตอมอื ่น(พันธะโควาเลนต์)
• ใช้ได้ดีกับธาตุใน s และ p block
• ใช้ได้ดีกับสารประกอบอินทรีย์
• มีข้อยกเว้นมาก โดยเฉพาะกับอะตอม Be B และ Al
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น