Tinkerbell Pink Glitter Wings

วันศุกร์ที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2563

ข้อสอบ2

1. แบบจําลองอะตอมของ Dalton ได้มาได้อย่างไ

ก. การเสนอความคิด

 ข. การใช้หลักตรรกศาสตร์

 ค. การทดลอง

 ง. การทําแบบสอบถามนักวิทยาศาสตร์อื่น ๆ

2. ข้อใดสนับสนุนว่าอะตอมไมใชอนุภาคที่เล็กที่สุด

 ก. การค้นพบไอโซโทป

ข. การค้นพบอิเล็กตรอน นิวตรอน และโปรตอน

 ค. การค้นพบสารประกอบชนิดต่าง ๆ

 ง. การค้นพบธาตุกัมมันตรังสี

3. ข้อใดไม่ใช่ทฤษฎีอะตอมของดอลตัน

 ก. อะตอมประกอบด้วยโปรตรอน อิเล็กตรอน และนิวตรอน

 ข. อะตอมจะแบ่งแยกต่ออีกไม่ได่

 ค. อะตอมธาตุชนิดเดียวกันจะเหมือนกัน และต่างจากจากอะตอมธาตุชนิดอื่น

 ง. อะตอมมีลักษณะกลมทึบตัน

 4.แบบจําลองอะตอมของดอลตันเป็นอย่างไร

ก. ทรงกลมตัน

 ข. ทรงกลงกลวง

 ค. ทรงกลมมีช่องตรงกลาง

 ง. ทรงกลมผิวขรุขระ

5. ข้อใดสนับสนุนว่าอะตอมชนิดเดียวกันสมบัติไมเหมือนกัน

 ก. การค้นพบธาตุกัมมันตรังสี

 ข. การค้นพบไอโซโทป

 ค. การค้นพบอิเล็กตรอน นิวตรอน และโปรตอน

 ง. การพบสเปกตรัม

6.ธาตุซึ่งมีเลขอะตอมต่อไปนี้  ข้อใดมีค่า IE1 เรียงตามลำดับจากน้อยไปหามาก

        ก. 8, 9, 10, 11, 12                                      ข. 12, 11, 10, 9, 8
        ค. 11, 12, 8, 9, 10                                      ง. 10, 9, 8, 12, 11

7.พิจารณาธาตุ 3Li , 4Be , 5และ 6C ค่า IE3 ของธาตุใดมีค่ามากที่สุด
        ก. Li                   ข. Be              ค. B            ง. C

8.ธาตุ Li ทำปฏิกิริยากับธาตุ ในสารประกอบ ซึ่งทำปฏิกิริยากับน้ำรุนแรงในสารละลายเป็นเบส เลขออกซิเดชันของ ในสารประกอบ มีค่าเป็น -1 สารประกอบ คืออะไร
        ก. Li2O          ข. Li3N           ค. LiH         ง. LiCl

9.การที่ธาตุแทรนซิชันสามารถเกิดสารประกอบได้หลายอย่าง เพราะ
        ก. มีเวเลนต์อิเล็กตรอนมาก                        ข. เป็นโลหะที่จัดไว้เป็นกลุ่มพิเศษ
        ค. มีเลขออกซิเดชันได้หลายค่า                  ง. พลังงานไอออไนเซชันลำดับ 1-3 มีค่าต่ำ

10.สารประกอบต่อไปนี้ข้อใดมีสี
        ก. K2SO4 , MnCl2                                        ข. K2Cr2O, Fe(OH)3
        ค. Cl2O , Co(NO3)2                                     ง. Ni(NH3)2+6 , RbCl

11. ข้อใด ไม่ใช่ ลักษณะอะตอมตามทัศนะของนักวิทยาศาสตร์ในสมัยโบราณ
    ก.  สารทุกชนิดประกอบด้วยอนุภาคขนาดเล็กที่สุดที่  เรียกว่า  อะตอม
    ข.  อะตอมมีขนาดเล็กมาก
    ค.  อะตอมไม่สามารถแบ่งย่อยลงได้อีก
    ง.  อะตอมไม่ได้รับความสนใจในการศึกษา


12. ข้อใด ไม่ถูกต้อง ตามแบบจำลองอะตอมของดอลตัน
    ก.  อะตอมไม่สามารถสร้างขึ้นใหม่และทำลายได้
    ข.  อะตอมประกอบด้วยอิเล็กตรอนและโปรตอน
    ค. อะตอมของธาตุชนิดเดียวกันมีสมบัติเหมือนกันทุกประการ
    ง. สารประกอบเกิดจากการรวมตัวของธาตุตั้งแต่สองชนิด

13. ข้อมูลใดที่ทราบจากการทดลองโดยใช้หลอดรังสีแคโทด
    ก. นิวเคลียสของธาตุมีโปรตรอน
    ข. อะตอมทุกชนิดประกอบด้วยอิเล็กตรอน
    ค. รังสีบวกประกอบด้วยนิวตรอน
    ง. อนุภาคแอลฟาหนักกว่าโปรตรอน

14.  ธาตุคลอรีน (CI) มีเลขอะตอม 17 จะอยู่ในคาบและหมู่ละที่เท่าไรของตารางธาตุ
      ก.  คาบ 3 หมู่ 7
      ข.  คาบ 7 หมู่ 3
      ค.  คาบ 2 หมู่ 7
      ง.  คาบ 3 หมู่ 8

15.  ข้อใดอธิบายความหมายไอโซโทปของธาตุได้ถูกต้อง
       ก.  ธาตุชนิดเดียวกัน เลขมวลเหมือนกันแต่เลขอะตอมต่างกัน
        ข.  ธาตุชนิดเดียวกันมีประจุในนิวเคลียสเหมือนกันแต่เลขมวลต่างกัน
        ค.  ธาตุต่างชนิดกันมีเลขอะตอมเหมือนกันแต่เลขมวลต่างกัน
        ง.  ธาตุต่างชนิดกันมีประจุในนิวเคลียสเหมือนกันแต่เลขมวลต่างกัน

16.  อนุภาคข้อใดที่มีมวลใกล้เคียงกัน
    ก.  โปรตอน อิเล็กตรอน และนิวตรอน
    ข.  โปรตอนกับอิเล็กตรอน
    ค.  นิวครอนกับอิเล็กตรอน
    ง.  โปรตอนกับนิวตรอน

17.  ธาตุ P มีเลขอะตอม 15 มีนิวตรอน 16 จะมีเลขมวล โปรตอน และอิเล็กตรอนเท่าไรตามลำดับ
            ก.  31,  15,  15
            ข.  31,  16,  15
            ค.  16,  15,  15
            ง.  15,  31,  16

18. ธาตุ  มีการจัดเรียงอิเล็กตรอนเป็น 2 ,8 ,18 , 8,  6  ข้อใดถูกต้อง
    ก. ธาตุดังกล่าวอยู่ หมู่ที่  6  คาบที่   6
    ข. ธาตุดังกล่าวอยู่ หมู่ที่  6  คาบที่   5
    ค. ธาตุดังกล่าวอยู่ หมู่ที่  5  คาบที่   6
    ง. ธาตุดังกล่าวอยู่ หมู่ที่  6  คาบที่   8

19. ในการจัดเรียงอิเล็กตรอนแต่ละระดับพลังงานจะมีอิเล็กตรอนได้ไม่เกิน
    ก. 2n2
    ข. 2n4
    ค. 2n6
    ง. 2n8
20. ข้อใดผิด
    ก. การดึงอิเล็กตรอนของ IE1     ใช้พลังงานมากกว่า  IE2
    ข. การดึงอิเล็กตรอนข้ามระดับพลังงานสามารถทำได้ถ้ามีพลังงานมากพอ
    ค. อิเล็กตรอนที่อยู่วงในจะถูกดึงได้ยากกว่าอิเล็กตรอนวงนอก
    ง. การดึงอิเล็กตรอนสามารถดึงได้เฉพาะสภาวะก๊าซ เท่านั้น

ข้อสอบ3


1. อะตอมของธาตุมีความไม่เสถียร ต้องอยู่รวมตัวเป็นโมเลกุลยกเว้นธาตุในหมู่ใด
ก. หมู่IA            ค. หมู่ IIA

ข. หมู่VIIA         ง. หมู่ VIIIA 
 

2. พนัธะเคมีข้อใดต่างจากกลุ่ม
ก. พันธะไฮโดรเจน        ค.พันธะโควาเลนซ์

ข. พันธะไอออนิก           ง.พันธะโลหะ

3. พันธะไอออนิกเป็นพันธะที่เกิดระหว่างธาตุหมู่ใด
ก. หมู่IA กับ หมู่IIA

ค. หมู่IIA กับ หมู่VIIA

ข. หมู่IA กับ หมู่IIIA

ง. หมู่IIA กับ หมู่VIIIA

4. ข้อใดไม่ใช่สมบัติของสารประกอบไอออนิก

ก. แข็ง เปราะ

ข. มีหลายสีและส่วนใหญ่ละลายน้ำ ได้ดี

ค. ละลายน้ำแล้วได้สารละลายที่นำไฟฟ้าได้

ง. จุดเดือด และจุดหลอมเหลวต่าง

5. ข้อใดเขียนสูตรสารเคมีของสารประกอบไอออนิกถูกต้อง

ก. NaI         ค. CaCl

ข. NeCl        ง. LiF2

6. ข้อใดเขียนชื่อสารประกอบไอออนิกของ BeCl2 ได้ถูกต้อง

ก. เบริลเลียมคลอไรด์         ค. เบริลเลียมไดคลอไรด์

ข. แบเรียมไดคลอไรด์          ง. แบเลียมคลอไรด์

7. ข้อใดเขียนชื่อสารประกอบไอออนิกผิด

ก. KCl –แคลเซียมคลอไรด์

ข. NaF – โซเดียมฟลูออไรด์

ค. NaCl – โซเดียมคลอไรด์

ง. LiI –ลิเทียมไอออไดด์

8. สารประกอบไอออนิกและสารประกอบโควาเลนซ์มีลักษณะคล้ายกัน ยกเว้นข้อใด

ก. การสร้างพนัธะเกี่ยวข้องกับอิเล็กตรอน

ข. การสร้างพันธะเกี่ยวข้องกับ พลังงาน

ค. การสร้างพันธะเป็นไปตามกฏออกเตต

ง. สารส่วนใหญ่ละลายน้ำ ได้แต่บางสารละลายน้ำ ไม่ได้

9. ข้อใดไม่ใช่สมบัติของสารประกอบโควาเลนซ์

ก. ละลายน้า แล้วไดสารละลายที่นำ ไฟฟ้าได้

ข. มีหลายสถานะทั้งของแข็ง ของเหลวและก๊าซ

ค. สารประกอบบางสารมีจุดเดือด จุดหลอมเหลวสูง เช่น เพชร

ง. เกิดจากการใช้อิเล็กตรอนร่วมกัน

10. การเกิดสารประกอบโควาเลนซ์ต้องมีวาเลนต์อิเล็กตรอนร่วมกันกี่อนุภาคจึงจะเป็นไปตามกฏออกเตต

ก. 2 และ 6 ข. 2 และ 8

ค. 6 และ 8 ง. 8 และ 10

11. สารใดไม่ใช่สารประกอบโควาเลนซ์ทั้งหมด

ก. NaCl HCl CCl4

ข. NaH NH3 CH4

ค. MgO FeO NaO

ง. SO2 NO2 CO2

12. ข้อใดเขียนสูตรโครงสร้างแบบเส้นของสารประกอบโควาเลนซ์ผิด

ก. O2

 แบบเส้น O = O

ข. H2O แบบเส้น H – O – H

ค. CO2

 แบบเส้น C = O = C

ง. SiO2

 แบบเส้น O = Si = O

13. ข้อใดเขียนชื่อสารประกอบโควาเลนซ์ SO3

ได้ถูกต้อง

ก. ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ค. ซิลิกอนไดออกไซด์

ข. ซัลเฟอร์ไตรออกไซด์ ง. ซิลิกอนไตรออกไซด์

14. เราใช้ประโยชน์จากสารประกอบโควาเลนซ์มากมายหลายด้านยกเว้นข้อใด

ก. ใช้เพชรมาเครื่องประดับและหัวขุดเจาะน้ำมัน

ข. ใช้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นเชื้อเพลิงยานอวกาศ

ค. ใช้ซิลิกอนไดออกไซด์มาทำกระจก และเครื่องประดับ

ง. ใช้ก๊าซแอมโมเนียในการสังเคราะห์สารเคมีและยา

15. พันธะที่เกิดขึ้นระหว่างโลหะคือพันธะใด

ก. พันธะไฮโดรเจน ค. พันธะโควาเลนซ์

ข. พันธะไอออนิก ง. พันธะโลหะ

16. ข้อใดไม่ใช่สมบัติของโลหะ

ก. แข็ง เปราะ ค. สามารถตีแผ่เป็นแผ่น บางๆได้

ข. นำไฟฟ้าได้ ง. จุดเดือด และจุดหลอมเหลวสูง

17. ข้อใดไม่ใช่วัตถุประสงค์ของการผสมสารประกอบโลหะ หรือ อัลลอยด์

1. เพื่อให้ได้โลหะที่มีน้ำ หนักที่เบาแต่แข็งแรง

2. เพื่อให้ได้โลหะที่ทนต่อการเกิดปฏิกิริยา เกิดการสึกกร่อนและเกิดสนิมยาก

3. เพื่อให้ได้โลหะที่มีความยืดหยุ่น สูง ซึมซับแรงกระแทกได้ดี

คำตอบคือข้อใด

ก. ข้อ 1 และ 2

ข. ข้อ 1 และ 3

ค. ข้อ 1 ข้อเดียว

ง. ข้อ 1 2 และ 3

18. พันธะและแรงระหว่างโมเลกุลใด ที่แข็งแรงมากและทา ให้สารมีจุดเดือดและจุดหลอมเหลวสูง

ก. แรงลอนดอน

ข. พันธะไฮโดรเจน

ค. แรงแวนเดอร์วาลส์

ง. แรงดึงดูดระหว่างขั้ว

19. พันธะระหว่างโมเลกุลของ DNA เป็นพันธะใด

ก. พันธะไฮโดรเจน ค. พันธะโควาเลนซ์

ข. พันธะไอออนิก ง. พันธะโลหะ

20. พันธะเคมีใดมีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างกันน้อยที่สุ

ก. พันธะโลหะ

ข. พันธะไฮโดรเจน

ค. แรงลอนดอน

ง. พันธะโควาเลนต์

ข้อสอบ1

 1. ข้อใดคือ หลักการของBiosafety Cabinet (BSC) หรือตู้ชีวนิรภัย 

ก. เพื่อป้องกันอันตรายต่อผู้ปฏิบัติงานจากการสัมผัสเชื้อ โดยการสูดดมหรือจากการกระเด็นของละออง ของเหลวที่มีเชื้อปนเปื้อน 

ข. ป้องกันการปนเปื้อนขณะปฏิบัติงาน 

ค. ป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อสู่คนอื่น และสู่สิ่งแวดล้อม 

ง. ถูกทุกข้อ

2. ในการทดลองที่ใช้สารเคมีที่มีไอระเหย/ก่อควันพิษ ท่านควรทําการทดลองที่ใดเหมาะสมที่สุด 

ก. ห้องปฏิบัติการที่มีพัดลมถ่ายเท 

ข. ที่โล่งแจ้ง 

ค. ตู้ดูดควัน 

ง. ตู้ดูดอากาศกรองเชื้อที่ได้มาตรฐาน (biosafety cabinet)

3.ข้อใดเป็นการกระทําที่ไม่สอดคล้องกับหลักการปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ 

ก. ไม่รับประทานอาหารและดื่มน้ําในห้องปฏิบัติการ 

ข. หมั่นคิดค้นและออกแบบการทดลองใหม่ๆ อยู่เสมอ 

ค. ไม่ทําปฏิบัติการในห้องปฏิบัติการตามลําพัง 

ง. ศึกษาคู่มือปฏิบัติการอย่างถี่ถ้วนก่อนเริ่มปฏิบัติการใดๆ

4.การใช้เครื่องป้องกันส่วนบุคคล ข้อใดที่ไม่เหมาะสมสําหรับการทดลองที่ระบุ 

ก.แว่นตานิรภัย – ทุกการทดลอง 

ข. รองเท้าหุ้มส้น – ทุกการทดลอง 

ค. ถุงมือยาง – การทดลองที่เกี่ยวกับการหยิบจับของร้อน 

ง. ผ้าปิดจมูก – การทดลองที่เกี่ยวกับสารที่ให้ไอระเหยเป็นพิษ 

5. การสวมใส่ถุงมือ ควรใช้ในกรณีใดบ้าง 

ก. โทรศัพท์ติดต่อ เพื่อรับตัวอย่าง 

ข. เปิด Computer เพื่อรายงานผลการทดสอบ 

ค. จดบันทึกรายละเอียดของตัวอย่าง 

ง. สัมผัสตัวอย่างในขณะทดสอบ

6. โอกาสติดเชื้อในห้องปฏิบัติการเกิดได้ในข้อใดบ้าง 

ก. เกิดการตกแตกของหลอดเชื้ออ้างอิงในห้อง 

ข. ถูกเข็มตําขณะเตรียมตัวเพื่อเจาะเลือดสัตว์ 

ค. ไม่ได้ใส่ mask ในขณะทดสอบแอนติบอดีในซีรัม 

ง. ไม่ใส่ lab coat ในขณะเตรียมน้ํายาเลี้ยงเชื้อ

7. ข้อใดเป็นวิธีปฏิบัติแรกสุดที่ควรทําเมื่อกรกซัลฟิวริกเข้มข้นหกรดมือ 

ก. ล้างด้วยน้ําทันที 

ข. ซับกรดออกให้มากที่สุดด้วยผ้าหรือกระดาษชําระก่อนล้างด้วยน้ํา 

ค. ล้างด้วยสารละลาย NaOHเจือจาง 

ง. รอแจ้งผู้ควบคุมห้องปฏิบัติการ

8.สิ่งใดต่อไปนี้สามารถทิ้งลงอาางน้ําทิ้งได้ 

ก. สารละลายหลังการไตเตรทกรดไฮโดรคลอริกด้วยสารลายมาตรฐาน NaOH ปริมาตร 100 ml 

ข. สารละลายที่ได้จากการทดสอบแคทไอออนที่มีโครเมียมเป็นองค์ประกอบ 5 ml 

ค. คลอโรฟอร์มที่เทออกมามากเกินพอ 10 ml 

ง. เกลือโซเดียมไซยาไนด์ที่ทําหก 1 ช้อนชา

9. ห้องปฏิบัติการควรมีโซเดียมไบคาร์บอเนต และ/หรือ แอมโมเนียมฟอสเฟต ไว้ในปริมาณที่มากพอสมควรเพื่ออะไร 

ก. ใช้ดับเพลิงที่ลุกไหม้จากสารเคมี 

ข. เป็นสารเคมีที่ใช้บ่อยในการทําปฏิกิริยา 

ค. ใช้สะเทินกรดเข้มข้นก่อนทิ้งลงท่อน้ํา 

ง. ใช้โรยเพื่อดูดซับสารเคมีที่หก

10.ข้อใดควรหลีกเลี่ยงในการทําปฏิบัติการ 

ก.การต้มหรือให้ความร้อนแก่ตัวทําละลายอินทรีย์จุดเดือดต่ํา 

ข.การทดสอบด้วยการสูดดมกลิ่นของสารเคมี 

ค.การผสมกรดเข้มข้นกับน้ํา 

ง.การต่อเครื่องแก้วหลายๆ ชิ้นเข้าด้วยกัน

11. อุปกรณ์ใดวัดปริมาตรที่มีความแม่นสูง

      1.บิวเรตต์                             
 2.ปิเปตต์


      3.บีกเกอร์                             4.กระบอกตวง

12. สัญลักษณ์ความเป็นอันตรายในระบบNFPA

สีแดงความหมายตรงกับข้อใด





        1.ไวไฟ                                    2.อันตรายต่อสุขภาพ


        3.ว่องไวต่อปฏิกิริยาเคมี          4.สารกัดกร่อน


13. สัญลักษณ์ GHS ดังกล่าวความหมายตรงกับข้อใด





     1.วัตถุระเบิด                               2.สารไวไฟ


     3.สารกัดกร่อน                            4.อันตรายต่อสุขภาพ



14. สัญลักษณ์ GHS ดังกล่าวความหมายตรงกับข้อใด




      1.สารไวไฟ                                 2.วัตถุระเบิด

      3.สารกัดกร่อน                          4.อันตรายต่อสุขภาพ

15. ข้อใดควรปฏิบัติในห้องปฏิบัติการเคมี

ก.รับประทานอาหาร

ข.วิ่งเล่น

ค.จุดตะเกียงแอลกอฮอล์ทิ้งไว้


ง.ใช้อุปกรณ์ในการปฏิบัติการอย่างระมัดระวัง

16. ข้อใดไม่ใช่ข้อปฏิบัติในการใช้สารเคมี

ก.อ่านชื่อสารเคมีบนฉลากให้แน่ใจก่อนใช้สารเคมี

ข.การเคลื่อนย้าย การถ่ายเทสารเคมีอย่างระมัดระวัง

ค.การทดลองสารในหลอดทดลอง ต้องหันปากหลอดเข้าหาตัวเองและผู้อื่น

ง.ห้ามชิมหรือสูดดมสารเคมีโดยตรง


18. ข้อใดไม่ใช่อุปกรณ์เกี่ยวกับความปลอดภัย

ก.เครื่องดับเพลิง

ข.อ่างล้างของ

คสัญญาณเตือนภัย

ง.ที่ล้างตัวฉุกเฉิน

19. ข้อใดเป็นเทคนิคการสูดดมไอของสารเคมีที่ถูกต้อง
ก.เอาจมูกสูดดมโดยตรงเพื่อให้ได้กลิ่นอย่างชัดเจน

ข.เอาภาชนะบรรจุสารเคมีห่างจากตัวประมาณ 1 นิ้ว แล้วโบกพัดไอเข้าหาจมูก

ค.เอาภาชนะบรรจุสารเคมีห่างจากตัวประมาณ 3 นิ้ว แล้วโบกพัดไอเข้าหาจมูก

ง.เอาภาชนะบรรจุสารเคมีห่างจากตัวประมาณ 6 นิ้ว แล้วโบกพัดไอเข้าหาจมูก

20. ข้อใดเป็นการใช้ตู้ควันที่ผิด

ก.ยื่นศีรษะเข้าไปดูในตู้ควันว่ามันทำงานหรือยัง

ข.ตั้งอุปกรณ์และชุดทดลองให้ลึกเข้าไปในตู้ควัน

ค.ทำความสะอาดพื้นและหน้าต่างกระจกทันทีที่สารเคมีกระเด็นเปื้อน

ง.หลังใช้งานเสร็จ ดึงกระจกลงมาให้อยู่เหนือพื้นตู้ประมาณ 1-2 นิ้ว

การใช้ประโยชน์ของสารประกอบไอออนิก สารโคเวเลนซ์ และโลหะ

 การใช้ประโยชน์ของสารประกอบไอออนิก สารโคเวเลนต์ และโลหะ

- แอมโมเนียมคลอไรด์และซิงค์คลอไรด์ เป็นสารประกอบไอออนิกที่สามารถนำไฟฟ้าได้จากการแตกตัวเป็นไอออนเมื่อละลายน้ำจึงนำไปใช้เป็นสารอิเล็กโทรไลต์ในถ่านไฟฉาย



- PVC
เป็นสารโคเวเลนต์ที่ไม่สามารถนำไฟฟ้าได้จึงเป็นฉนวนไฟฟ้าที่หุ้มสายไฟฟ้า



- ทองแดงและอะลูมิเนียม เป็นโลหะที่นําไฟฟ้าได้ดีจึงนำไปใช้เป็นตัวนำไฟฟ้าอลูมิเนียมและเหล็กเป็นโลหะที่นําความร้อนได้ดีจึงนำไปทำภาชนะสำหรับประกอบอาหาร เช่น หม้อ กะทะ



-โซเดียมคลอไรด์ เกลือ






พันธะโลหะ

พันธะโลหะ

          พันธะโลหะ ( Metallic Bond ) คือ แรงดึงดูดระหว่างไอออนบวกซึ่งเรียงชิดกันกับอิเล็กตรอนที่อยู่โดยรอบหรือเป็นแรงยึดเหนี่ยวที่เกิดจากอะตอมในก้อนโลหะใช้เวเลนต์อิเล็กตรอนทั้งหมดร่วมกัน อิเล็กตรอนอิสระเกิดขึ้นได้ เพราะโลหะมีวาเลนต์อิเล็กตรอนน้อยและมีพลังงานไอออไนเซชันต่ำ จึงทำให้เกิดกลุ่มของอิเล็กตรอนและไอออนบวกได้ง่าย

          พลังงานไอออไนเซชันของโลหะมีค่าน้อยมาก   แสดงว่าอิเล็กตรอนในระดับนอกสุดของโลหะถูกยึดเหนี่ยวไว้ไม่แน่นหนา   อะตอมเหล่านี้จึงเสียอิเล็กตรอนกลายเป็นไอออนบวกได้ง่าย   เมื่ออะตอมของโลหะมารวมกันเป็นกลุ่ม  ทุกอะตอมจะนำเวเลนต์อิเล็กตรอนมาใช้ร่วมกัน   โดยอะตอมของโลหะจะอยู่ในสภาพของไอออนบวก   ส่วนเวเลนต์อิเล็กตรอนทั้งหมดจะอยู่เป็นอิสระ   ไม่ได้เป็นของอะตอมใดอะตอมหนึ่งโดยเฉพาะ   แต่สามารถเคลื่อนที่ไปได้ทั่วทั้งก้อนโลหะ   และเนื่องจากอิเล็กตรอนเคลื่อนที่เร็วมาก   จึงมีสภาพคล้ายกับมีกลุ่มหมอกอิเล็กตรอนปกคลุมก้อนโลหะนี้อยู่   เรียกว่า ทะเลอิเล็กตรอน โดยมีไอออนบวกฝังอยู่ในกลุ่มหมอกอิเล็กตรอนซึ่งเป็นลบ   จึงเกิดแรงดึงดูดที่แน่นหนาทั่วไปทุกตำแหน่งภายในก้อนโลหะนั้น ดังภาพ

พันธะโคเวเลนต์

            พันธะโควาเลนต์ (Covalent bond) หมายถึง พันธะในสารประกอบที่เกิดขึ้นระหว่างอะตอม 2 อะตอมที่มีค่าอิเล็ก

โตรเนกาติวิตีใกล้เคียงกันหรือเท่ากัน แต่ละอะตอมต่างมีความสามารถที่จะดึงอิเล็กตรอนไว้กับตัว อิเล็กตรอนคู่ร่วม

พันธะจึงไม่ได้อยู่ ณ อะตอมใดอะตอมหนึ่งแล้วเกิดเป็นประจุเหมือนพันธะไอออนิก หากแต่เหมือนการใช้อิเล็กตรอนร่วม

กันระหว่างอะตอมคู่ร่วมพันธะนั้นๆและมีจำนวนอิเล็กตรอนอยู่รอบๆ แต่ละอะตอมเป็นไปตาม กฎออกเตต


        1. พันธะเดี่ยว (Single covalent bond) เกิดจากการใช้อิเล็กตรอนร่วมกัน 1 อิเล็กตรอน เช่น F2 Cl2 CH4 เป็นต้น

        2. พันธะคู่ ( Doublecovalent bond ) เกิดจากการใช้อิเล็กตรอนร่วมกันของธาตุทั้งสองเป็นคู่หรือ 2 อิเล็กตรอน เช่น O2 CO2 C2H4 เป็นต้น
           3. พันธะสาม ( Triple covalent bond ) เกิดจากการใช้อิเล็กตรอนร่วมกัน 3 อิเล็กตรอน ของธาตุทั้งสอง เช่น N2 C2H2 เป็นต้น

การอ่านชื่อสารประกอบโคเวเลนซ์

          *สารประกอบของธาตุคู่ ให้อ่านชื่อธาตุที่อยู่ข้างหน้าก่อน แล้วตามด้วยชื่อธาตุที่อยู่หลัง โดยเปลี่ยนเสียงพยางค์ท้ายเป็น“ ไอด์ (ide)

          *ให้ระบุจำนวนอะตอมของแต่ละธาตุด้วยเลขจำนวนในภาษากรีก ดังตาราง

          *ถ้าสารประกอบนั้นอะตอมของธาตุแรกมีเพียงอะตอมเดียว ไม่ต้องระบุจำนวนอะตอมของธาตุนั้น แต่ถ้าเป็น อะตอมของธาตุหลังให้อ่าน “ มอนอ เสมอ

ตัวอย่างเช่น



ประเภทของพันธะโคเวเลนต์

             พันธะโคเวเลนต์แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ

            1. พันธะโคเวเลนต์แบบไม่มีขั้ว  คือพันธะที่เกิดจากอะตอมทั้ง 2 มีการใช้อิเล็กตรอนเท่าๆกัน (มีค่าอิเล็กโทรเนกาติวิตีหรือความสามารถในการดึงดูดอิเล็กตรอนเท่ากัน) และเมื่ออะตอมทั้งสองสร้างพันธะต่อกันแล้วอิเล็กตรอนจะเคลื่อนที่รอบๆและใช้เวลากับอะตอมทั้งสองเท่าๆกัน

            2. พันธะโคเวเลนต์แบบมีขั้ว  อะตอมทั้งสองมีการใช้อิเล็กตรอนร่วมกันแต่ไม่เท่ากัน นั่นคืออะตอมที่มีค่าอิเล็กโทรเนกาติวิตีสูงจะดึงอิเล็กตรอนเข้าหาตัวเองได้มากกว่าหรืออาจกล่าวได้ว่าเมื่ออะตอมทั้งสองสร้างพันธะต่อกันแล้ว  อิเล็กตรอนจะเคลื่อนที่รอบๆอะตอมทั้งสองแต่ว่าจะใช้เวลาสำหรับอะตอมทั้งสองไม่เท่ากัน คือจะเกิดประจุลบขึ้นเล็กน้อย (partial negative charge) กับอะตอมที่มีค่าอิเล็กโทรเนกาติวิตีสูง และประจุบวกขึ้นเล็กน้อย (partial positive charge)กับอะตอมที่มีค่าอิเล็กโทรเนกาติวิตีต่ำกว่า

สภาพขั้วของโมเลกุลโคเวเลนต์

      โมเลกุลโคเวเลนต์ที่มีพันธะโคเวเลนต์แบบมีขั้ว อาจเป็นโมเลกุลมีขั้วหรือไม่มีขั้วก็ได้

      โมเลกุลโคเวเลนต์มีพันธะโคเวเลนต์แบบไม่มีขั้ว โมเลกุลก็ต้องไม่มีขั้วด้วย

      - สภาพขั้วของของโมเลกุลขึ้นอยู่กับผลรวมเวกเตอร์ทางคณิตศาสตร์ของทุกพันธะในโมเลกุล 

พันธะไอออนิก

ารเกิดพันธะไอออนิก

          เกิดขึ้นเมื่อโลหะรวมตัวกับอโลหะ แล้วโลหะให้อิเล็กตรอนแก่อโลหะ เพื่อให้แต่ละอะตอมมีเวเลนซ์อิเล็กตรอนครบ 8 หรือเป็นไปตามกฎออกเตต อะตอมของโลหะก็จะกลายเป็นไอออนบวก เพราะมีโปรตอนมากกว่าอิเล็กตรอนส่วนอะตอมของอโลหะกลายเป็นไอออนลบเพราะมีโปรตอนน้อยกว่าอิเล็ก- ตรอน ไอออนทั้งสองมีประจุต่างกันจึงเกิดแรงดึงดูดทางไฟฟ้ายึดเหนี่ยวอะตอมทั้งสองเข้าด้วยกัน(เกิดเป็นพันธะไอออนิก) และเรียกสารประกอบที่เกิดจากอะตอมยึดเหนี่ยวกันด้วยพันธะไอออนิกว่า สารประกอบไอออนิก

*หมายเหตุ โลหะบางชนิด เช่น  Be, Sn เมื่อรวมตัวกับอโลหะบางชนิด เช่น Cl ไม่ได้เกิดพันธะไอออนิก แต่เกิดพันธะโคเวเลนต์ เช่น BeCl2  SnCl4   SnCl2  เป็นต้น

          การรวมตัวระหว่างธาตุแคลเซียมกับฟลูออรีนก็สามารถอธิบายได้ดังนี้ แคลเซียมมีเลขอะตอม 20 จัดอิเล็กตรอนเป็น 2, 8, 8, 2 แคลเซียมจึงให้เวเลนซ์อิเล็กตรอน 2 อิเล็กตรอนแก่ฟลูออรีนเกิดเป็นแคลเซียมไอออน (Ca2+ซึ่งมีการจัดอิเล็กตรอนเหมือนธาตุอาร์กอนคือ 2, 8, 8 ส่วนฟลูออรีนมีเลขอะตอม 9 จัดอิเล็กตรอนเป็น 2, 8, 1 และฟลูออรีน 1 อะตอมจะรับ 1 อิเล็กตรอนเกิดเป็นฟลูออไรด์ไอออน (F-ซึ่งจัดอิเล็กตรอนเหมือนกับธาตุนีออน แต่แคลเซียม 1 อะตอมให้ 2 อิเล็กตรอนจึงต้องใช้ฟลูออรีน 2 อะตอม เพื่อรับ 2 อิเล็กตรอน เกิดเป็นสารประกอบแคลเซียมฟลูออไรด์ ซึ่งแสดงได้ดังต่อไปนี้



โครงสร้างของสารประกอบไอออนิก

          ผลึกของสารประกอบไอออนิกประกอบด้วยไอออนบวกและไอออนลบจัดเรียงตัวสลับกันไปอย่างมีระเบียบทั่วทั้งก้อนผลึกสามมิติ ทำให้ผลึกมีโครงสร้างที่แน่นอน ในการจัดเรียงตัวของไอออน ไอออนบวกจะห้อมล้อมและสัมผัสกับไอออนลบ ในทำนองเดียวกันไอออนลบก็จะห้อมล้อมและสัมผัสกับไอออนบวก จำนวนไอออนที่ห้อมล้อมและสัมผัสกับไอออนอื่น เรียกว่า โคออร์ดิเนชันนัมเบอร์ ( Coordination Number ซึ่งจะมีจำนวนเท่าใดขึ้นอยู่กับขนาดของไอออนทั้งสองชนิด โครงสร้างผลึกขงสารประกอบไอออนิกที่ควรทราบได้แก่

1. โครงสร้างแบบโซเดียมคลอไรด์ ( Rock salt structure ) ในผลึกของโซเดียมคลอไรด์ประกอบด้วย Na+ และ Cl- การจัดเรียงตัวของไอออนคือ Na+ จะมี Cl- ห้อมล้อมและสัมผัสโดยรอบ 6 ไอออน และ Cl- จะมี Na+ ห้อมล้อมและสัมผัสโดยรอบ 6 ไอออนเช่นเดียวกัน โครงสร้างแบบโซเดียมคลอไรด์ โดยทั่วไปเรียกว่า Rock-salt structure สารประกอบแฮไลด์ของโลหะแอลคาไล (ธาตุหมู่ IA) และสารประกอบออกไซด์และซัลไฟด์ของโลหะแอลคาไลน์เอิร์ท ( ธาตุหมู่ IIA ) ส่วนใหญ่มีโครงสร้างแบบเดียวกับโซเดียมคลอไรด์

2. โครงสร้างแบบซีเซียมคลอไรด์ ( Cesium Chloride structure ) เนื่องจาก Cs+ มีขนาดโตกว่า Na+ ดังนั้น Cl- จึงสามารถห้อมล้อมและสัมผัสกับ Cs+ ได้มากกว่า Na+ กล่าวคือ Cs+ มี Cl- ห้อมล้อมและสัมผัส 8 ไอออน ทำนองเดียวกัน Cl- ก็จะมี Cs+ ห้อมล้อมและสัมผัส 8 ไอออนเช่นเดียวกัน 

3. โครงสร้างแบบแคลเซียมฟลูออไรด์ ( Fluorite structure ) โครงสร้างของแคลเซียมฟลูออไรด์ประกอบด้วย Ca2+ และ F- โดย  Ca2+  มี F- ห้อมล้อมและสัมผัส 8 ไอออน แต่ F-  มี Ca2+ ห้อมล้อมและสัมผัสเพียง 4 ไอออนเท่านั้น

4. โครงสร้างแบบซิงซัลไฟด์ ( Zinc blend structure ) โครงสร้างของซิงซัลไฟด์ประกอบด้วย Zn2+ และ S2- โดย Zn2+ มี S2- ห้อมล้อมและสัมผัส 4 ไอออน ทำนองเดียวกัน S2- ก็มี Zn2+ ห้อมล้อมและสัมผัส 4 ไอออนเช่นเดียวกัน

         นื่องจากโครงสร้างของสารประกอบไอออนิกประกอบด้วยไอออนบวกและไอออนลบมีการจัด เรียงตัวสลับกันไปแบบต่อเนื่องทั่วทั้งผลึก ไม่สามารถแยกออกเป็นโมเลกุลได้ จึงถือว่าสารประกอบไอออนิกเป็นสารประกอบที่ไม่มีสูตรโมเลกุล การเขียนสูตรแทนสารประกอบไอออนิกใช้สูตรเอมพิริกัล แสดงอัตราส่วนอย่างต่ำในการรวมตัวกันระหว่างไอออนบวกและไอออนลบ

ข้อสอบ2

1. แบบจําลองอะตอมของ Dalton ได้มาได้อย่างไ ร ก. การเสนอความคิด  ข. การใช้หลักตรรกศาสตร์  ค. การทดลอง  ง. การทําแบบสอบถามนักวิทยาศาสตร์อื่น ๆ...