1. เครื่องมือเครื่องมือวัด หมายถึงปริมาณมาตรฐาน (Standard) ซึ่งเป็นตัวแทนของหน่วยวัด โดยที่การวัดเป็นปฏิบัติการทางเทคนิคที่ต้องปฏิบัติตามวิธีการวัดที่กําหนดขั้นตอนไว้แล้ว เพื่อการเปรียบเทียบกันระหว่างปริมาณทางกายภาพใด ๆ ที่ถูกวัดและปริมาณมาตรฐาน โดยผลวัดจะบอกทั้งขนาดและมิติ
2. วิธีการ วิธีการในการวัดต้องเหมาะสมกับเครื่องมือนั้นๆ เพื่อได้ข้อมูลที่ทุกคนยอมรับ สำหรับงานเก็บข้อมูลทางวิทยาศาตร์มาตรฐานของเครื่องมือและวิธีการของการวัดเป็นสิ่งสำคัญมากเพื่อความเชื่อถือของข้อมูลที่ได้มา
การกำหนดมาตราวัดปริมาณต่างๆ มีการพัฒนาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันมีด้วยกันหลายระบบทั้งของไทยและต่างประเทศปัจจุบันมาตราวัดความยาวของไทยในอดีตยังใช้อยู่บ้างเช่น การวัดความยาวเป็นวา โดย 1 วามีค่าเท่ากับ 2 เมตร หรือพื้นที่ก็ยังใช้เป็นตารางวา โดย
1 ตารางวาเท่ากับ 4 ตารางเมตร หรือ พื้นที่ 1 ไร่ มี 400 ตารางวา เป็นต้น
ในต่างประเทศก็มีเหมือนกัน มีการใช้มาตรการวัดหลายๆ ระบบ ซึ่งทำให้เกิดความยุ่งยากในการเปรียบเทียบของระบบต่างๆ เนื่องจากหน่วยของมาตราวัดแต่ละระบบจะแตกต่างกัน
ในปี พ.ศ. 2503 ได้มีการประชุมร่วมกันของนักวิทยาสาตร์ จากหลายๆ ประเทศเพื่อตกลงให้มีระบบการวัด ปริมาณต่างๆ เป็นระบบมาตรฐานระหว่างชาติ ที่เรียกว่า หน่วยระหว่างชาติ (International System of Units หรือ Systeme-International d’ Unites) และกำหนดให้ใช้อักษรย่อแทนชื่อระบบนี้ว่า “SI” หรือ หน่วยเอสไอ (SI unit) เพื่อใช้ในการวัดทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ระบบหน่วยระหว่างชาติ หรือ เอสไอ ประกอบด้วย หน่วยฐาน หน่วยอนุพัทธ์ และคำอุปสรรค ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
หน่วยฐาน (Base Units)เป็นหน่วยหลักของเอสไอ มีทั้งหมด 7 หน่วย ดังตาราง
หน่วยอนุพัทธ์ (Derived Units) เป็นหน่วยซึ่งมีหน่วยฐานหลายหน่วยมาเกี่ยวข้องกัน เช่น หน่วยของความเร็วเป็น เมตร/วินาที ซึ่งมีเมตร และวินาทีเป็นหน่วยฐาน หน่วยนี้มีอยู่หลายหน่วย และบางหน่วยก็ใช้ชื่อสัญลักษณ์เป็นพิเศษ ดังตัวอย่างในตาราง
คำอุปสรรค (PreFixes)เมื่อค่าในหน่วยฐานหรือหน่วยอนุพันธ์น้อยหรือมากเกินไปเราอาจเขียนค่านั้นอยู่ในรูปตัวเลขคูณด้วยตัวพหุคูณ (ตัวพหุคูณ คือ เลขสิบยกกำลังบวกหรือลบ) ได้เช่น ระยะทาง 0.002 เมตร เขียนเป็น 2x10-3 เมตร ตัวพหุคูณ 10-3 แทนด้วยคำอุปสรรคมิลลิ (m) ดังนั้น ระยะทาง 0.002 เมตร อาจเขียนได้ว่า 2 มิลลิเมตร คำอุปสรรคที่ใช้แทนตัวพหุคูณและสัญลักษณ์ แสดงไว้ในตาราง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น